ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

แนวคิด-ปรัชญา
15
ธันวาคม
2565
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวถึงความสำคัญของการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ อันมีหัวใจสำคัญคือการยึดโยงต่อประชาชน เพื่อการสถาปนารัฐและระบอบการเมืองที่มั่นคง พร้อมกันนี้ยังได้นำเสนอทางออกของวิกฤติที่ไทยกำลังเผชิญหน้ารวมทั้งสิ้น 6 ประการ เพื่อยุติความขัดแย้งและหาจุดร่วมให้แก่ความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
แนวคิด-ปรัชญา
11
ธันวาคม
2565
พิจารณาแกนหลักสำคัญผ่านรัฐธรรมนูญ คือการวางหลักประกันให้แก่สิทธิและเสรีภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน อีกทั้งนำเสนอหลักคิดและอุดมคติของ ‘นายปรีดี พนมยงค์’ ซึ่งแสดงทัศนะไว้ต่อประเด็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเชิงจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ถดถอยลง เพื่อถอดบทเรียนไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
แนวคิด-ปรัชญา
9
ธันวาคม
2565
จุดเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศ ภายหลังเมื่อเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 อันเป็นที่มาแห่งการรำลึกในนาม "วันรัฐธรรมนูญ" ของทุกๆ ปี รวมไปถึงขั้นตอน กระบวนการ และสาระสำคัญในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งท้ายที่สุดได้บรรลุผลเป็นหลักการกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศดังรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อีกทั้งความสำคัญของการมีส่วนทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
แนวคิด-ปรัชญา
6
ธันวาคม
2565
พัฒนาการของการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในทางเศรษฐกิจ ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่เริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์สยาม 2475 อีกทั้งการเกิดขึ้นของบทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอันเป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทว่า การรัฐประหารได้ทำให้หลักการดังกล่าวนั้นพร่าเลือนลงไป อันเนื่องมาจากความถดถอยของความเป็นประชาธิปไตย
เกร็ดประวัติศาสตร์
3
ธันวาคม
2565
ผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ทางการเมืองของ 'นายปรีดี พนมยงค์' ในประเทศอังกฤษ โดยมีที่มาซึ่งเกิดขึ้นขณะที่นายปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข ต้องระเห็จระเหินไปยังต่างแดน ทว่า ระหว่างการเดินทางในครานั้นก็ได้นำพาให้ทั้งสองไปพบเจอกับ 'เจมส์ แม็กซ์ตัน' (James Maxton) สมาชิกสภาอังกฤษแห่งพรรคแรงงานอิสระ (Independent Labour Party: ILP)
บทบาท-ผลงาน
28
พฤศจิกายน
2565
'อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ' หนึ่งในผู้ร่วมเดินทางได้จรดปลายปากกาเขียนบอกเล่าเรื่องราวการเยือนถิ่นประวัติศาสต์อันปรากฏร่องรอยของขบวนการเสรีไทยในพื้นที่จังหวัดตาก ณ หมู่บ้านชุมชนเล็กๆ คือ "ตรอกบ้านจีน" พร้อมด้วยชีวประวัติย่อของ 'นายหมัง สายชุ่มอินทร์' คหบดีผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าเสรีไทยแห่งเมืองตาก
แนวคิด-ปรัชญา
21
พฤศจิกายน
2565
ผู้เขียนได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ กล่าวคือสร้าง "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" ซึ่งเป็นระบอบที่จะต้องเป็นประชาธิปไตยทั้งใน "ทางการเมือง" และ ใน "ทางเศรษฐกิจ" ควบคู่กันไปอย่างมิอาจแยกจากกันได้ ตลอดจนความรักชาติของนายปรีดีที่ปรากฏในร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ
ชีวิต-ครอบครัว
16
พฤศจิกายน
2565
นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 จนกระทั่งวันนี้ เป็นเวลา 94 ปี ที่นามของปรีดี-พูนศุข ได้ประสานรวมเป็นหนึ่งและเคียงข้างกัน แม้ทั้งสองจะล่วงลับละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เรื่องราวความรักและคุณูปการที่ได้เคยกระทำไว้เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ ยังคงโลดแล่นและไหลเวียนอยู่ในสายธารแห่งประวัติศาสตร์อย่างมิรู้จบ....ตราบนานเท่านาน .
บทบาท-ผลงาน
15
พฤศจิกายน
2565
ความพยายามของ 'นายปรีดี พนมยงค์' และ "คณะราษฎร" ว่าด้วยฐานคิดในการออกแบบการเลือกตั้งครั้งแรกของสยาม อีกทั้งอุปสรรคที่นายปรีดีต้องประสบด้วยเหตุ "ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ" ครั้นเมื่อการเมืองกลับสู่สภาวะปกติและการเลือกตั้งได้บังเกิดในที่สุด ราษฎรสยามตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อระบอบใหม่ ดังปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ"
แนวคิด-ปรัชญา
13
พฤศจิกายน
2565
ต้นทศวรรษ 2470 ได้ปรากฏการฟ้องร้องคดีขึ้นกรณีหนึ่ง โดยเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามลัทธิเจ้าเซ็นหรือที่เรียกขานว่า “แขกเจ้าเซ็น” และบริเวณที่ดินของ “กระฎี” ท้ายที่สุด ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยต่อสู้กันถึงชั้นศาลฎีกาต้องพิจารณาตัดสินชี้ขาด จนประกาศเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931 พ.ศ. 2473
Subscribe to หลวงประดิษฐ์มนูธรรม